วันพุธที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่ 13 ประจำวันที่ 7 ตุลาคม553

  วันนี้เป็นวัดปิดครอสสื่อการเรียนรู้เพื่อเด็กปฐมวัยค่ะ วันนี้อาจารย์นัดสอบปลายภาคค่ะ ซึ่งดิฉันมาสายค่ะ อาจารย์นัด 9 โมง ดิฉันมา 9.30น. ซึ่งมีเหตุการไม่คาดคิดค่ะ คือรถเมล์ชนกับรถแท็กซี่ ดิฉันเลยต้องเสียเวลาไปมากค่ะ  แต่อาจารย์ก็ได้ให้เข้าห้องสอบค่ะ อาจารย์ใจดีมาก 

บันทึกครั้งที่ 13 ประจำวันที่ 30 กันยายน2553

  วันนี้อาจารย์ให้นำกระดาษลงมาคนละ 1 แผ่นค่ะ เพราะจะมาทำเกมการศึกษา โดยการที่ให้ทำเรื่องเกี่ยวกับอะไรก็ได้ ที่เราอยากจะสอนเด็กปฐมวัยค่ะ โดยอาจารย์นำอุปกรณ์การทำมาให้หมดค่ะ ไม่ว่าจะเป็น กระดาษสีต่างไ กรรไกร สีเทียน สีไม้ ฯลฯ เยอะแยะมากค่ะ และให้นำส่งเมื่อหมดชั่วโมงเรียนค่ะ

บันทึกครั้งที่ 12 ประจำวันที่ 23 กันยายน2553

    วันนี้นัดส่งแป้งโดค่ะ ซึ่งอาจารย์ให้ห่อภาชนะใส่และอุปกรณ์การเล่นมาเล่นกับแป้งโดค่ะ



บันทึกครั้งที่ 11 ประจำวันที่ 16 กันยายน 2553

   วันนี้บรรยากาศในห้องเรียนคึกคักมากเป็นพิเศษ วันนี้อาจารย์จะสอนทำ "แป้งโด" ซึ่งตอนแรกไม่รู้ว่ามันคืออะไร วันนี้บรรยากาศการเรียนในห้องคนเยอะหน่อย เพราะนัดเรียนกัน2กลุ่มและบริเวณห้องก็แคบด้วย การทำแป้งโดวันนี้สนุกมากค่ะ ถึงแม้มือจะเลอะสีต่างๆที่ผสมลงไปก็ตาม

 
ตามมาดูกันเลย
มาเริ่มที่อุปกรณ์กันเลยดีกว่า

 
  • แป้งสาลี 3 ถ้วยตวง
  • น้ำสะอาด 2.5 ถ้วยตวง
  • สารส้มแบบละเอียดยิบ 1 ถ้วยตวง
  • น้ำมันพืช 2 ช้อนโต๊ะ
  • สีผสมอาหารตามชอบ

 

 
วิธีทำ

 
นำกระทะใบค่อนข้างใหญ่วางบนเตา ยังไม่ต้องเปิดไฟ เตรียมไม้พายหรือทัพพียาวๆ แข็งแรงที่ใช้กวนได้สะดวก
ผสมแป้ง เกลือกับสารส้ม แล้วเติมน้ำเปล่ากับน้ำมันพืชลงไป กวนให้เข้ากัน จะกลายเป็นแป้งข้นๆ
เปิดไฟอ่อนๆ กวนให้แป้งสุก แป้งจะจับตัวเป็นก้อน พอแป้งเริ่มจับตัวเป็นก้อนต้องออกแรงหน่อย โกรธใครมาก็ระบายออกมาเต็มที่เลย!! พยายามกดให้แป้งแผ่ออกแบนๆ จะได้โดนไฟจนสุกทั่วๆ กัน  แป้งที่สุกแล้วจะเปลี่ยนสีจากสีขาวเป็นสีเหลืองอ่อนๆ เสร็จแล้วหน้าตาออกมาเป็นแบบนี้
 หน้าตาจะเป็นแบบนี้ค่ะ ถ้าอยากได้สีไหนก็หยดสีลงตอนผสมนะคะ

 

 
 
 

บันทึกครั้งที่ 10 ประจำวันที่ 9 กันยายน 2553

วันนี้ตื่นเต้นค่ะ เพราะวันนี้อาจารย์นัดสอบกลางภาค กลัวทำไม่ได้
วันนี้อาจารย์นัดส่งงาน คือ เกมการศึกษา ซึ่งดิฉันทำโดมิโน และอาจารย์ได้ย้ำหนักหนาว่าให้ไปทำบล็อค เพราะอาจารย์คงรู้ว่าเราไม่ค่อยได้เขียนบล็อคเลย

 "ผลงานค่ะ"



บันทึกครั้งที่ 9 ประจำวันที่ 2 กันยายน 2553

   วันนี้บรรยากาศในก้องเรียนตึงเครียดมากเพราะอาจารย์นัดส่งงานทั้งหมด มีเกมการศึกษา pop up 3ชิ้น
ส่วนมากจะไม่ได้ส่งเพราะทำงานมาไม่เรียบร้อย ไม่เป็นระเบียบ อาจารย์ให้นำกลับไปแก้ไข และนำมาส่งใหม่ในอาทิตย์หน้า วันนี้อาจารย์ให้พวกเราเล่นเกมการศึกษาที่อาจารย์จัดเตรียมมา ซึ่งวันนี้เรียน2กลุ่มคนค่อนข้างเยอะ ห้องแคบ เลยเสียงดังไปหน่อย



บันทึกครั้งที่ 8 ประจำวันที่ 19 สิงหาคม 2553

วันนี้เรียนการพับกระดาษค่ะ ซึ่งการพับกระดาษเนี่ยมีหลากหลายมาก
ซึ่งอาจารย์ได้นำมาสอนมี 3 แบบคือ
1. การพับกระดาษแบบมีมิติ 3 มิติ คือการพับแบบตั้ง มีลักษณะคล้ายเก้าอี้
2. การพับกระดาษแบบสามารถโผล่หัวที่เราต้องการออกมาได้
3. การพับ Pop up

ดิฉันจะยกตัวอย่างการพับที่แปลกๆๆให้ดูค่ะ
พับกระดาษ เป็น แพนด้า ( Origami panda )














วิธี พับกระดาษ เป็น รูป หมี แพนด้า



















สอนพับกระดาษ เป็น แพนด้า


"ผลงานของดิฉัน"






วันศุกร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่7 ประจำวันที่ 29 กรกฎาคม 2553

วันนี้อาจารย์ติดธุระเรื่องจะพานักศึกษาไปเข้าค่าย อาจารย์เลยไม่ค่อยสอนอะไรมาก
แต่อาจารย์สั่งงาน ให้ไปออกแบบเกมการศึกษา แล้วโพสขึ้นBlogแล้วอาจารย์จะมาคอมเม้นให้ในวันเสาร์

เกมการศึกษาที่ข้าพเจ้าจะจัดทำ


บันทึกครั้งที่6 ประจำวันที่ 22 กรกฎาคม 2553

อาจารย์สอนเกี่ยวกับเรื่อง "หลักการเลือกสื่อและการประเมินการใช้สื่อ"
ฉันกลับไปศึกษาเพิ่มเติมจาก http://www.stks.or.th/web/presentation/20060824-choose-media_files/frame.htm#slide0016.htm ทำให้เข้าใจได้มากยิ่งขึ้น

จากการที่อาจารย์ให้ไปหาข้อมูลเพิ่มเติมมีดังนี้
- http://www.sema.go.th/node/1303
- http://learners.in.th/blog/teacher-future/39619



ตัวอย่างเกมการศึกษา


บันทึกครั้งที่5 ประจำวันที่ 15 กรกฎาคม 2553

"ครั้งนี้ไม่ได้เข้าเรียน เพราะไปงานศพคุณย่า"

วันอาทิตย์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่4 ประจำวันที่ 8 กรกฎาคม 2553

การแบ่งประเภทของสื่อ
>> แบ่งตามประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียนที่ได้รับจากสื่อ
>>แบ่งตามลักษณะของสื่อหรือวิธีการใช้งาน

แนวคิดของ เอ็ดการ์ เดล(Edgar Dale)
ได้จัดแบ่งสื่อการสอนเพื่อเป็นแนวทางในการอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างโสตทัศนูปกรณ์ และแสดงเป็นขั้นตอนของประสบการณ์การเรียนรู้และการใช้สื่อ นำมาสร้างเป็น “กรวยประสบการณ์” (Cone of Experience ) แบ่งเป็นขั้นตอนดังนี้
1. ประสบการณ์ตรง ซึ่งเป็นขั้นที่เป็นรูปธรรมมากที่สุด เพราะผู้เรียนได้รับประสบการณ์จากของจริง สถานที่จริง


2. ประสบการณ์รอง ผู้เรียนเรียนจากสิ่งที่ใกล้เคียงกับความจริงที่สุด

3.ประสบการณ์นาฏกรรมหรือการแสดง เป็นการแสดงบทบาทสมมติ หรือการแสดงละคร

4. การสาธิต เป็นการแสดงหรือกระทำประกอบคำอธิบาย

5. การศึกษานอกสถานที่ ให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ภายนอกที่เรียน

6. นิทรรศการ เป็นการจัดแสดงสิ่งของต่างๆ การจัดป้ายนิเทศ

7.โทรทัศน์ ใช่ส่งได้ทั้งระบบวงจรเปิดหรือวงจรปิด การสอนจะเป็นการสอนสดหรือบันทึกลงบนวีดิทัศน์

8. ภาพยนตร์ เป็นภาพที่บันทึกเรื่องราวเหตุการณ์ลงบนฟิล์ม

9. การบันทึกเสียง วิทยุ ภาพนิ่ง เป็นการฟังหรือดูภาพโดยไม่ต้องอ่าน

10. ทัศนสัญลักษณ์ เช่น แผนภูมิ แผนที่ แผนสถิติ

11. วจนสัญลักษณ์ ซึ่งเป็นขั้นนามธรรมมากที่สุด ได้แก่ ตัวหนังสือ เสียงพูด

                                                  กรวยประสบการณ์ 11 กลุ่ม

บันทึกครั้งที่ 3 ประจำวันที่1 กรกฎาคม 2553

>>สื่อการสอน<<
สื่อ(กริยา)หมายถึง ทำการติดต่อให้ถึงกัน ชักนำให้รู้จักกัน
สื่อการศึกษา(นาม) วิธีการเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้เป็นสื่อในการศึกษา(พ.น.ก.2525.2530:811)หมายถึงอุปกรณ์ต่างๆที่อาจเป็นวัสดุเครื่องมือหรือกิจกรรมที่ครูเลือกมาและวางใช้รวมเข้าไปในเนื้อหาของหลักสูตรวิชาต่างๆอย่างเหมาะสมกับความต้องการ ระดับชั้น สติปัญญา

สื่อการเรียนการสอน
>>สิ่งต่างๆที่เป็นส่วนของเทคโนโลยีการศึกษาเป็นพาหะที่จะนำสารหรือความรู้ไปยังผู้เรียนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้เช่น วิดีทัศน์เป็นสื่อการสอน

ความหายของสื่อการเรียนการสอน
>>หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวเราเช่น วัสดุ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีที่สอนต่างๆ

สื่อกับผู้เรียน
- ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจเรียนได้เร็วขึ้น
- ช่วยให้ผู้เรียนสนใจบทเรียนและใช้ประสาทสัมผัสในการรับรู้ได้
- ทำให้เข้าใจเนิ้อหาบทเรียนที่ยุ่งยากได้ง่ายขึ้นในระยะอันสั้น
- ให้ประสบการณ์แก่ผู้เรียน และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ประยุกต์และปรับใช้
- ช่วยในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ ไปสัมพันธ์กับสิ่งใหม่ได้ต่อเนื่องกัน
- ส่งเสริมการคิด การแก้ปัญหาและความคิดสร้างสรรค์
- ช่วยให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกกรมการเรียนการสอนมากขึ้น
- มีความเข้าใจเนื้อหาได้ตรงกัน
- ช่วยสร้างบรรยากาศในการเรียนการสอน
- ลดการบรรยายของผู้สอน
- ผู้สอนมีการตื่นตัวในการผลิตสื่อต่างๆ

หลักการเลือกสื่อการสอน
- สื่อต้องมีความสัมพันธ์มาตรฐานการเรียนรู้และผลการเรียนที่คาดหวัง
- เลือกสื่อที่มีเนื้อหาถูกต้อง ทันสมัย น่าสนใจ
- เป็นสื่อที่เหมาะสมกับวัย ระดับชั้น ความรู้และประสบการณ์ของผู้เรียน
- สะดวก วิธีใช้ไม่ซับซ้อนไม่ยุ่งยากจนเกินไป
- เป็นสื่อที่มีคุณภาพ มีความชัดเจนและเป็นจริง

ขั้นตอนในการใช้สื่อ
> ขั้นนำเข้าสู้บทเรียน
> ขั้นดำเนินการสอนหรือประกอบการเรียน
> ขั้นวิเคราะห์และฝึกปฏิบัติลงมือ
> ขั้นสรุปบทเรียน
> ขั้นประเมินผู้เรียน
   - ตรวจผลงาน
   - สังเกต
   - ใช้แบบทดสอบ

หลักการใช้สื่อการเรียนการสอน
> เตรียมตัวผู้สอน
> เตรียมจัดสภาพแวดล้อม
   - สอดคล้องกับพัฒนาการ
   - สอดคล้องกับตัวผู้เรียนด้สนต่างๆ
> เตรียมพร้อมผู้เรียน
> การใช้สื่อ
> การติดตามผล

การกำหนดการตอบสนองของผู้เรียน
   ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียน และเปิดโอกาศให้มีการตอบสนองมากน้อยเพียงไรขึ้นอยู่กับผู้ใช้สื่อ

วันพุธที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่2 ประจำวันที่ 24 มิถุนายน 2553

ความหมายของสื่อที่ถูกต้อง คือ เป็นตัวกลางของข้อมูลข่าวสาร เป็นทักษะ เนื้อหาทั้งหลาย ความรู้ ความสามารถไปสู่ผู้เรียน สื่อจึงมีความสำคัญมาก

คำถามท้ายชั่วโมงเรียน
1. ในความคิดเด็กปฐมวัย คืออะไร
ตอบ เด็กที่มีอายุตั้งแต่ 0-6ปี มีวิวัฒนาการการเรียนรู้แบบเป็นขั้นเป็นตอน

2. เราจะไปศึกษาเรื่องใด ถึงจะรู้ว่าเด็กเป็นอย่างไร
ตอบ เรื่องการรับประทานอาหาร เพราะเด็กมีวิธีการกินไม่เหมือนกัน มีวิธีปฏิบัติต่างๆกัน

3. เด็กปฐมวัยมีการเรียนรู้แบบใดบ้าง
ตอบ พัฒนาการของเด็กที่เป็นขั้นเป็นตอน พัฒนาเป็นช่วงอายุ

4. นักทฤษฎีที่รู้จักมีใครบ้าง
ตอบ - ยีน เพีเจต์
            -  บรูเนอร์

บันทึกครั้งที่1 ประจำวันที่ 17มิถุนายน 2553

สื่อในความหมายของข้าพเจ้า คือ เป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่เป็นเครื่องมือทางการศึกษา ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ความเข้าใจดีขึ้น



ประเภทสื่อ : สื่อหนังสือ



ประเภทสื่อ : บัตรคำ บัตรภาพ