วันศุกร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่7 ประจำวันที่ 29 กรกฎาคม 2553

วันนี้อาจารย์ติดธุระเรื่องจะพานักศึกษาไปเข้าค่าย อาจารย์เลยไม่ค่อยสอนอะไรมาก
แต่อาจารย์สั่งงาน ให้ไปออกแบบเกมการศึกษา แล้วโพสขึ้นBlogแล้วอาจารย์จะมาคอมเม้นให้ในวันเสาร์

เกมการศึกษาที่ข้าพเจ้าจะจัดทำ


บันทึกครั้งที่6 ประจำวันที่ 22 กรกฎาคม 2553

อาจารย์สอนเกี่ยวกับเรื่อง "หลักการเลือกสื่อและการประเมินการใช้สื่อ"
ฉันกลับไปศึกษาเพิ่มเติมจาก http://www.stks.or.th/web/presentation/20060824-choose-media_files/frame.htm#slide0016.htm ทำให้เข้าใจได้มากยิ่งขึ้น

จากการที่อาจารย์ให้ไปหาข้อมูลเพิ่มเติมมีดังนี้
- http://www.sema.go.th/node/1303
- http://learners.in.th/blog/teacher-future/39619



ตัวอย่างเกมการศึกษา


บันทึกครั้งที่5 ประจำวันที่ 15 กรกฎาคม 2553

"ครั้งนี้ไม่ได้เข้าเรียน เพราะไปงานศพคุณย่า"

วันอาทิตย์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่4 ประจำวันที่ 8 กรกฎาคม 2553

การแบ่งประเภทของสื่อ
>> แบ่งตามประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียนที่ได้รับจากสื่อ
>>แบ่งตามลักษณะของสื่อหรือวิธีการใช้งาน

แนวคิดของ เอ็ดการ์ เดล(Edgar Dale)
ได้จัดแบ่งสื่อการสอนเพื่อเป็นแนวทางในการอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างโสตทัศนูปกรณ์ และแสดงเป็นขั้นตอนของประสบการณ์การเรียนรู้และการใช้สื่อ นำมาสร้างเป็น “กรวยประสบการณ์” (Cone of Experience ) แบ่งเป็นขั้นตอนดังนี้
1. ประสบการณ์ตรง ซึ่งเป็นขั้นที่เป็นรูปธรรมมากที่สุด เพราะผู้เรียนได้รับประสบการณ์จากของจริง สถานที่จริง


2. ประสบการณ์รอง ผู้เรียนเรียนจากสิ่งที่ใกล้เคียงกับความจริงที่สุด

3.ประสบการณ์นาฏกรรมหรือการแสดง เป็นการแสดงบทบาทสมมติ หรือการแสดงละคร

4. การสาธิต เป็นการแสดงหรือกระทำประกอบคำอธิบาย

5. การศึกษานอกสถานที่ ให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ภายนอกที่เรียน

6. นิทรรศการ เป็นการจัดแสดงสิ่งของต่างๆ การจัดป้ายนิเทศ

7.โทรทัศน์ ใช่ส่งได้ทั้งระบบวงจรเปิดหรือวงจรปิด การสอนจะเป็นการสอนสดหรือบันทึกลงบนวีดิทัศน์

8. ภาพยนตร์ เป็นภาพที่บันทึกเรื่องราวเหตุการณ์ลงบนฟิล์ม

9. การบันทึกเสียง วิทยุ ภาพนิ่ง เป็นการฟังหรือดูภาพโดยไม่ต้องอ่าน

10. ทัศนสัญลักษณ์ เช่น แผนภูมิ แผนที่ แผนสถิติ

11. วจนสัญลักษณ์ ซึ่งเป็นขั้นนามธรรมมากที่สุด ได้แก่ ตัวหนังสือ เสียงพูด

                                                  กรวยประสบการณ์ 11 กลุ่ม

บันทึกครั้งที่ 3 ประจำวันที่1 กรกฎาคม 2553

>>สื่อการสอน<<
สื่อ(กริยา)หมายถึง ทำการติดต่อให้ถึงกัน ชักนำให้รู้จักกัน
สื่อการศึกษา(นาม) วิธีการเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้เป็นสื่อในการศึกษา(พ.น.ก.2525.2530:811)หมายถึงอุปกรณ์ต่างๆที่อาจเป็นวัสดุเครื่องมือหรือกิจกรรมที่ครูเลือกมาและวางใช้รวมเข้าไปในเนื้อหาของหลักสูตรวิชาต่างๆอย่างเหมาะสมกับความต้องการ ระดับชั้น สติปัญญา

สื่อการเรียนการสอน
>>สิ่งต่างๆที่เป็นส่วนของเทคโนโลยีการศึกษาเป็นพาหะที่จะนำสารหรือความรู้ไปยังผู้เรียนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้เช่น วิดีทัศน์เป็นสื่อการสอน

ความหายของสื่อการเรียนการสอน
>>หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวเราเช่น วัสดุ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีที่สอนต่างๆ

สื่อกับผู้เรียน
- ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจเรียนได้เร็วขึ้น
- ช่วยให้ผู้เรียนสนใจบทเรียนและใช้ประสาทสัมผัสในการรับรู้ได้
- ทำให้เข้าใจเนิ้อหาบทเรียนที่ยุ่งยากได้ง่ายขึ้นในระยะอันสั้น
- ให้ประสบการณ์แก่ผู้เรียน และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ประยุกต์และปรับใช้
- ช่วยในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ ไปสัมพันธ์กับสิ่งใหม่ได้ต่อเนื่องกัน
- ส่งเสริมการคิด การแก้ปัญหาและความคิดสร้างสรรค์
- ช่วยให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกกรมการเรียนการสอนมากขึ้น
- มีความเข้าใจเนื้อหาได้ตรงกัน
- ช่วยสร้างบรรยากาศในการเรียนการสอน
- ลดการบรรยายของผู้สอน
- ผู้สอนมีการตื่นตัวในการผลิตสื่อต่างๆ

หลักการเลือกสื่อการสอน
- สื่อต้องมีความสัมพันธ์มาตรฐานการเรียนรู้และผลการเรียนที่คาดหวัง
- เลือกสื่อที่มีเนื้อหาถูกต้อง ทันสมัย น่าสนใจ
- เป็นสื่อที่เหมาะสมกับวัย ระดับชั้น ความรู้และประสบการณ์ของผู้เรียน
- สะดวก วิธีใช้ไม่ซับซ้อนไม่ยุ่งยากจนเกินไป
- เป็นสื่อที่มีคุณภาพ มีความชัดเจนและเป็นจริง

ขั้นตอนในการใช้สื่อ
> ขั้นนำเข้าสู้บทเรียน
> ขั้นดำเนินการสอนหรือประกอบการเรียน
> ขั้นวิเคราะห์และฝึกปฏิบัติลงมือ
> ขั้นสรุปบทเรียน
> ขั้นประเมินผู้เรียน
   - ตรวจผลงาน
   - สังเกต
   - ใช้แบบทดสอบ

หลักการใช้สื่อการเรียนการสอน
> เตรียมตัวผู้สอน
> เตรียมจัดสภาพแวดล้อม
   - สอดคล้องกับพัฒนาการ
   - สอดคล้องกับตัวผู้เรียนด้สนต่างๆ
> เตรียมพร้อมผู้เรียน
> การใช้สื่อ
> การติดตามผล

การกำหนดการตอบสนองของผู้เรียน
   ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียน และเปิดโอกาศให้มีการตอบสนองมากน้อยเพียงไรขึ้นอยู่กับผู้ใช้สื่อ